ปรึกษาคดีรัฐธรรมนูญ
คำถาม-คำตอบ การขอรับคำปรึกษาคดีรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา
คำถาม : ขั้นตอนการร้องศาลรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ว่า การเก็บค่าบำรุงการศึกษาของโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 หรือไม่
คำถาม : เงื่อนไขและวิธีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓

คำตอบ : ๑. การยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
โดยเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงาน
ซึ่งใช้อำนาจรัฐ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง: บุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้/ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
หลักเกณฑ์และวิธีการ:
๑. บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
๒. คำร้องต้องระบุการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของตนโดยตรง
ให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำใด และละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพของตนอย่างไร
๓. บุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
๔. ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบภายใน ๑๐ วันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
๕. กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้อง (ยุติเรื่อง) หรือไม่ยื่นคำร้องภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง ผู้ถูกละเมิดสิทธิมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ กรณีตามมาตรา ๔๖ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือวันที่พ้นกำหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
๒. วิธีการการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๒ กำหนดให้ คำร้องที่จะยื่นต่อศาลต้องทำเป็นหนังสือ
ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการครบถ้วนตามแบบที่กำหนดในข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุ

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(๒) เรื่องหรือการกระทำทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ต้องขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยพร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(๓) มาตราของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในคำร้อง
(๔) คำขอที่ระบุความประสงค์จะให้ศาลดำเนินการอย่างใดพร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนโดยชัดแจ้ง

ในการยื่นคำร้องดังกล่าว นอกจากต้นฉบับคำร้องพร้อมเอกสารประกอบแล้ว ให้คู่กรณี
จัดทำสำเนาจำนวน ๙ ชุด ยื่นต่อศาล คำร้องใดมีรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน หรือไม่อาจเข้าใจได้
ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้คำแนะนำแก่ผู้ร้องเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องนั้นให้ถูกต้อง
ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ผู้ร้องจะดำเนินการทั้งปวงด้วยตนเองหรือจะมอบฉันทะให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ โดยผู้รับมอบฉันทะต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว

๓. ช่องทางในการยื่นคำร้องต่อศาล ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๗ มีดังนี้
(๑) ยื่นคำร้องต่อศาลด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
(๒) ส่งทางไปรษณีย์
(๓) ส่งทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์
(๔) สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นที่ศาลกำหนด

ทั้งนี้ การส่งคำร้องทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามประกาศ
ศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคำร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใด
ทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th หัวข้อ “ยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing)
กรณียื่นคำร้องด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/e_Filling/Manual/Filing%20Manual.pdf นอกจากนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/research/download.php?ID=247
หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลข 02-142-5074
คำถาม : เงื่อนไขและวิธีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
คำตอบ : ๑. การยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
โดยเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงาน
ซึ่งใช้อำนาจรัฐ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง: บุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้/ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
หลักเกณฑ์และวิธีการ:
๑. บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น
๒. คำร้องต้องระบุการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของตนโดยตรง
ให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำใด และละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพของตนอย่างไร
๓. บุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
๔. ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบภายใน ๑๐ วันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
๕. กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้อง (ยุติเรื่อง) หรือไม่ยื่นคำร้องภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากผู้ร้อง ผู้ถูกละเมิดสิทธิมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ กรณีตามมาตรา ๔๖ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือวันที่พ้นกำหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
๒. วิธีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๒ กำหนดให้ คำร้องที่จะยื่นต่อศาลต้องทำเป็นหนังสือ
ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการครบถ้วนตามแบบที่กำหนดในข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุ

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(๒) เรื่องหรือการกระทำทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ต้องขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยพร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(๓) มาตราของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในคำร้อง
(๔) คำขอที่ระบุความประสงค์จะให้ศาลดำเนินการอย่างใดพร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนโดยชัดแจ้ง

ในการยื่นคำร้องดังกล่าว นอกจากต้นฉบับคำร้องพร้อมเอกสารประกอบแล้ว ให้คู่กรณี
จัดทำสำเนาจำนวน ๙ ชุด ยื่นต่อศาล คำร้องใดมีรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน หรือไม่อาจเข้าใจได้
ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้คำแนะนำแก่ผู้ร้องเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องนั้นให้ถูกต้อง
ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ผู้ร้องจะดำเนินการทั้งปวงด้วยตนเองหรือจะมอบฉันทะให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ โดยผู้รับมอบฉันทะต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว

๓. ช่องทางในการยื่นคำร้องต่อศาล ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๗ มีดังนี้
(๑) ยื่นคำร้องต่อศาลด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
(๒) ส่งทางไปรษณีย์
(๓) ส่งทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ การส่งคำร้องทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามประกาศ
ศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคำร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใด
ทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th หัวข้อ “ยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing)
กรณียื่นคำร้องด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/e_Filling/Manual/Filing%20Manual.pdf นอกจากนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/research/download.php?ID=247
หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลข 02-142-5074
คำถาม : ในระหว่างที่ศาลอาญาธนบุรีส่งความเห็นและคำโต้แย้งของจำเลยให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒ ศาลอาญาธนบุรีจะดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้หรือไม่ อย่างไร
และในกรณีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยคำร้องของจำเลยหรือไม่
คำตอบ : รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒ บัญญัติว่า
“ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยมาตรา ๕ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในระหว่างนั้น ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ”
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบต่อคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว เว้นแต่ในคดีอาญาให้ถือว่าผู้ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยมาตรา ๕ นั้น เป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดดังกล่าว หรือถ้าผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ปล่อยตัวไป แต่ทั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ”
การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑๒ บัญญัติไว้ จะต้องเป็นกรณีที่มีคดีเกิดขึ้นในศาลก่อน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร และไม่ว่าคดีนั้นจะอยู่ระหว่างการพิจารณาในศาลใดก็ตาม หากศาลเห็นเองหรือคู่ความ (โจทก์หรือจำเลย) หรือคู่กรณี (ผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดี) ในคดีนั้น โต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นหรือคำโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลดังกล่าวผ่านทางสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง หรือกรมพระธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ซึ่งกรณีนี้ศาลที่ส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถพิจารณาคดีต่อไปได้แต่ต้องให้รอการพิพากษาคดีไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวงแต่ไม่กระทบต่อคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว เว้นแต่ในคดีอาญาให้ถือว่าผู้ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดดังกล่าว หรือถ้าผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ปล่อยตัวไป แต่ทั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ
สำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย หมายถึงกฎหมายระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น

ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒ วรรคหนึ่ง ศาลจะมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้แย้งของคู่ความไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒ วรรคสอง